กฏหมายห้ามถ่ายรูปติดคนอื่น มาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ทำให้หลายคนมีความกังวล โดยเฉพาะช่างภาพ มีอะไรบ้างที่ต้องรู้
แต่ส่วนตัวเท่าที่ดูข้อกฎหมาย ไม่มีอะไรน่ากังวล ถือว่าเป็นมารยาทการถ่ายรูปขั้นพื้นฐานด้วยซ้ำ ถ้าเจตนาดี และไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น ก็ไม่ต้องกลัวครับ
1 การถ่ายรูปลงโซเชียล
ถ่ายรูปลง Facebook ส่วนตัว ได้ปกติเลย แม้ว่าจะมีรูปคนอื่นติดมาบ้าง
- คนที่ถูกถ่ายรูปติด ต้องไม่ได้รับความเสียหาย เช่น รูปหลุด เว๋อ หรืออยู่ในลุคที่เขาดูไม่ดี
- ลงรูปแล้ว คนในรูปถูกคอมเม้นท์เสียๆหายๆ ก็มีความผิดได้เช่นกัน
สำหรับช่างภาพ ในข้อนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานการถ่ายภาพอยู่แล้ว รูปไหนไม่ดีก็คัดออก
2 ถ่ายรูปลงเพจ หรือเพื่อการค้าต้องได้รับความยินยอม
ถ้ามีสื่อที่ทำในเชิงพานิชย์ เช่น เพจรับงานถ่ายรูป, ทำช่อง Youtube คุณต้องได้รับความยินยอมจากคนในรูปก่อน ถึงจะนำรูปไปใช้งานได้
หลักๆคือ ถ้าคุณถ่ายรูปเพื่อทำคอนเทนท์ คุณต้องแจ้งคนในรูปก่อน
แต่ถ้าจะถ่ายภาพแล้วนำไปขาย ปกติก็ต้องมีการเซนต์เอกสารยินยอมกันอยู่แล้ว และส่วนใหญ่เป็นงานจ้าง
3 แคนดิต หรือ แอบถ่าย ต้องระวัง
ถ้าจะถ่ายเป็นแนวแคนดิต หรือ “แอบถ่าย” ต้องระวังเป็นพิเศษ เรามักจะเจอช่างภาพที่ทำคอนเทนท์แนวๆนี้อยู่บ่อยๆ
เห็นเขาสวยหล่อ อยากถ่ายรูป แนะนำให้ขอก่อน จะดีที่สุด
จริงๆแล้วเคยมีประเด็น นางแบบไปเที่ยวคาเฟ่ แต่มีช่างภาพคนอื่นมาถ่ายรูป โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ยินยอม จนมีดราม่าเกิดขึ้น
กฎหมายก็จะมาคุ้มครองในกรณีแบบนี้ด้วย
4 ภาพข่าว ได้รูปติดคนได้เลย
ถ้าถ่ายรูปทำภาพข่าว เช่น ข่าวทีวี หนังสือพิมพ์ กีฬาสี กิจกรรมต่างในโรงเรียน ขบวนแห่ ฯลฯ จะได้รับข้อเว้น
📌 นอกจากนี้ การถ่ายภาพต้องไม่เผยแพ่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรประชาชน ชื่อนามสกุล ป้ายทะเบียนรถ เบอร์โทร ฯลฯ
โทษปรับ PDPA สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท
กรณีที่ทำผิดกฎหมาย PDPA จนเกิดความเสียหาย ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท
มุมมองของช่างภาพพอร์ทเทรต
โดยส่วนตัวไม่ได้กังวลเกี่ยวกับกฎหมายนี้เลย ในงานพอร์ทเทรตของช่างภาพส่วนใหญ่ จะเลี่ยงการถ่ายรูปติดคนอยู่แล้ว เลนส์ที่ใช้ก็ละลายหลังมากๆ
และการถ่ายรูป ก็จะนัดกันก่อนด้วยนะ ถึงจะมาเป็นแบบถ่ายรูปได้ แน่นอนว่าไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
แต่จะมีการกำชับกับนางแบบ ในบางอัลบั้มจะมีการนำภาพมาใช้เพื่อการค้า เช่น ทำพรีเซ็ตแต่งรูป, รีวิวแอพแต่งรูปให้ลูกค้า, รีวิวกล้องเลนส์ต่างๆ