ส่วนตัวใช้กล้องมิเรอร์เลสฟูจิมาตั้งแต่ X-T10 และ X-T20 ก็ใช้ จนมาถึง X-T30 รุ่นนี้ถือเป็นการก้าวกระโดดที่ไกลกว่าเดิม ไม่ใช่แค่อัพเกรดรุ่นตามเวลา

จุดเด่นของ Fujifilm X-T30 คือการใช้เซ็นเซอร์ที่รับแสงได้ดีขึ้น โฟกัสรวดเร็ว มี Eye AF ตามจิก และทำให้เลนส์รุ่นเก่าถ่ายรูปได้เร็วขึ้น

เรียกว่าแทบจะย่อส่วนมาจาก X-T3 แต่มีการตัดบางอย่างออก ให้เหมาะสมกับการเป็นกล้องที่มีขนาดเล็ก แต่ถ้าพูดเฉพาะการถ่าย “ภาพนิ่ง” ผลลัพธ์ที่ได้ จะไม่ต่างกัน เพราะใช้เซ็นเซอร์ตัวเดียวกัน โปรเซสเซอร์ก็ตัวเดียวกัน

ทำไมถึงใช้ Fujifilm X-T30

  • ย้อนกลับไปตอนที่เลือกซื้อ X-T10 เป็นเพราะชอบไฟล์ภาพ ผมชอบไฟล์ภาพสไตล์ฟูจิ มันดูใสและสว่าง
  • X-T30 ใช้เซ็นเซอร์แบบ Back illuminated ..ถ้ายังเป็น CMOS แบบเดิมนะ ผมอาจจะคิดแล้วคิดอีก จนอาจจะไม่ซื้อก็ได้
  • ใช้งานกับเลนส์รุ่นเก่าได้เร็วขึ้น ข้อนี้ถูกใจมาก
  • ฟูจิเป็นกล้อง APS-C ระบบเลนส์มันไม่ใหญ่มาก ทำให้พกพาง่าย และถ่ายสนุก
  • ชอบดีไซน์กล้องสไตล์แบบนี้ ดูมีความคลาสสิค

ข้อที่สำคัญที่สุดคือ เซ็นเซอร์ X-Trans CMOS 4 ที่เป็นแบบ Back- illuminated (เรียกว่า BSI หรือป่าวนะไม่แน่ใจ) โดยหลักคือทำให้เก็บแสงได้ดีขึ้น

ผมเคยใช้เซ็นเซอร์ที่เป็นแบบ BSI จากกล้องตัวอื่นมาก่อน ก็เลยรู้สึกว่าเซอร์แบบนี้มันดีจริง ถ่ายย้อนแสงได้ดีงามมากๆ เหมือนมันจะช่วยในด้านนี้ด้วยอยู่หน่อยๆ

รับงานได้มั้ย

X-T20 ยังใช้รับงานกันได้เยอะแยะ ในส่วนของ X-T30 นั้นประสิทธิภาพเหลือเฟือเลยครับ

แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝีมือ ถ้าถ่ายรูปเก่ง X-T10 รุ่นที่เก่ากว่า ก็ใช้รับงานได้

ข้อจำกัดของการถ่ายรูปรับงาน ของ X-T30 มีอยู่ 2 อย่าง คือ “ใส่การ์ดได้ช่องเดียว” และ “ไม่มีกริปเสริมแบต”

คนที่ซีเรียสกลัวทำการ์ดพัง คงต้องมองรุ่นอื่นแล้วล่ะ จะยอมจ่ายเพิ่มไปซื้อ X-T3 มั้ย รุ่นนั้นจะตัวใหญ่กว่าหน่อย แต่ใส่การ์ดได้ 2 ช่อง รับงานก็อุ่นใจ

จากประสบการณ์ส่วนตัว ตั้งแต่ถ่ายรูปมาไม่เคยทำการ์ดพังสักครั้ง อาจจะเป็นคนโชคดีหรือป่าว แต่ผมใช้การ์ดที่มีคุณภาพดี ..ไม่ใช้การ์ดราคาหลักร้อยที่แถมมากับกล้อง แบบนั้นเสี่ยงมาก

แบตก้อนเดียวอาจจะอยู่ได้ไม่นานเต็มวัน แต่ปัญหานี้แก้ได้ง่ายๆ ซื้อแบตมาเพิ่มอีกสักก้อนสองก้อน

ไฟล์ภาพสไตล์ฟูจิ

ความเป็นฟูจิอยู่ที่ไฟล์ภาพ มีความคม สว่าง และภาพดูใส คนที่ชอบฟูจิหลายคนจะมีความหลงไหลไฟล์ภาพเป็นทุนเดิม

ถ้าชอบไฟล์ภาพฟูจิ คุณไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะไปมองกล้องตัวอื่น มีแค่ฟูจิเท่านั้นที่ทำได้แบบนี้

แต่ถ้ารู้สึกเฉยๆกับไฟล์ภาพ ไม่ได้ติดใจอะไร มีกล้องแบรนด์อื่นๆอีกหลายรุ่นให้เลือกหา ไม่จำเป็นต้องฟูจินะ

เทคโนโลยีกล้องฟูจิไม่ได้ล้ำมาก มีบางอย่างที่ฟูจิทำได้ดีกว่ากล้องแบรนด์อื่นๆ แต่ก็มีหลายอย่างที่กล้องแบรนด์อื่นๆเขานำไปไกลแล้ว

การออกแบบกล้อง

บอดี้

Fuji X-T30 ถือเป็นกล้องที่มีขนาดค่อนข้างเล็กนะ ส่วนตัวเวลาใช้งานจะต้องติดกริปไว้ตลอด เพื่อให้ใช้กับเลนส์ตัวใหญ่ๆได้สะดวกมากขึ้น

Fujifilm X-T30 Body
Fujifilm X-T30 Body
Fujifilm X-T30 Body
Fujifilm X-T30 Body

ช่วงที่ใช้กล้องแรกๆ ไม่เคยติดกริป แต่พอได้ลองติดกริปแล้วถ่ายได้สนุกมากขึ้น หลังจากนั้นก็จะติดกริปกับกล้องฟูจิตลอด

กริปที่ใช้กับ X-T20 เอามาใส่กับ X-T30 ได้เลย

ขอเสริม เกี่ยวกับการจับถือ

คนที่เคยใช้ DSLR มาก่อน ถ้ามาจับ X-T30 จะรู้สึกได้เลยว่าไม่ถนัดมือ วิธีการจับจะต่างกันนะ นิ้วก้อยน่ะหายแน่ๆ ถ้าจะให้เข้ามือต้องซื้อกริปมาใส่

แต่คนที่จะซื้อ X-T30 เป็นกล้องตัวแรก ไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไหร่นะ ..เหมือนๆคนที่ใช้กล้อง X-A5 หลายๆคนซื้อมาเป็นกล้องตัวแรก เขาก็จับถือถ่ายรูปกันได้

จอพับ

จอพับยังเป็นแบบเดิม สำหรับกลางหน้าจอออกมาดู ไว้ถ่ายมุมเสย/มุมคว่ำได้สะดวกๆ

สำหรับสาย VLOG ที่เล็งจะออกกล้อง X-T30 อาจจะผิดหวังนิดๆ เพราะจอพับออกข้างไม่ได้ ก็ต้องไปเล่นตัวอื่นแทน ฟูจิมี X-T100 กับ X-T3 ที่เป็นจอพับข้าง

ยกเว้นจะทำ VLOG แบบไม่เน้นเซลฟี่ก็พอได้อยู่นะ ดูอย่างกล้อง Gopro มันไม่มีจอพับ คนก็ยังทำ VLOG กันทั่วบ้านทั่วเมือง

แต่ยังไงการที่จอพับออกข้างได้ ก็ให้ความสะดวกต่องานวิดีโอมากกว่า

ช่องมองภาพ EVF

ช่องมองภาพค่อนข้างเล็ก ไม่ค่อยสบายตาเท่าไหร่ แต่ก็พอมองเห็นภาพชัดอยู่

สายตาสั้น-ยาว สามารถปรับระดับสายตาได้ เหมือนวัดสายตาประกอบแว่นน่ะ อยากได้ชัดระดับไหนก็เลื่อนเอา

และมีปุ่ม View Mode เลือกที่จะให้แสดงเฉพาะ LCD หรือปิด LCD แล้วให้แสดงเฉพาะ EVF ก็ได้

มีแฟลชในตัว

มีแฟลชที่หัวกระโหลก แต่ยกหัวแฟลชไม่ได้ จะใช้งานจริงจังยังไงก็ต้องซื้อแฟลชมาเพิ่มอยู่ดี

โหมดการควบคุม

ปุ่มสำหรับปรับค่าหลายๆอย่าง จะอยู่บนตัวกล้อง เช่น โหมดถ่ายภาพนิ่ง/วิดีโอ การควบคุมรูรับแสง/สปีดชัตเตอร์ ชดเชยแสง โหมดถ่ายต่อเนื่อง เป็นต้น

ข้อดีคือเราจะมองเห็นทันที กล้องปรับค่าอะไรอยู่ ยกเว้นพวกเอฟเฟค ค่า ISO ขนาดภาพ ฯลฯ ยังต้องดูบนจออยู่

ข้อเสีย ไม่สามารถทำ Custom ไม่เต็มรูปแบบ เช่น ตั้งค่าสำหรับถ่ายรัว และถ่ายภาพนิ่งธรรมดา ถ้าจะสลับโหมดด้วยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียวจะทำไม่ได้

กล้อง Fuji X-T30 ทำ Custom ได้เฉพาะในส่วนของเอฟเฟคและค่าพื้นฐาน เช่น โทนฟิล์ม ไฮไลต์ เงา สี ความคม ISO DR เป็นต้น

ปุ่ม Q

เป็นปุ่มเข้าเมนูปรับค่าพื้นฐาน และทำ Custom ได้

เมนูถ่ายรูป

ใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ แยกหมวดหมู่ได้เข้าใจง่ายดี ..แต่การตั้งค่าบางอย่าง ต้องเข้าไปแบบลึกมาก

review-fujifilm-xt30-29

และแม้ว่ากล้องจะเป็นหน้าจอสัมผัส แต่ไม่ใช่ฟูลทัช ในส่วนของเมนูตั้งค่า ยังต้องใช้จอยสติก

X-T30 ทำงานหน้าจอสัมผัสได้เฉพาะในโหมดถ่ายรูป และเมนูลัดจากปุ่ม Q

โหมดถ่ายรูป

ถ้าถามว่ากล้องใช้ยากมั้ย มันอยู่ที่เราจะเลือกใช้ทำอะไรนะ อยากถ่ายง่ายๆก็โหมด Auto ชอบทำอะไรที่เป็นมืออาชีพขึ้นมาหน่อยก็โหมด P, A, S, และ M

แต่ไม่ว่าจะใช้โหมดอะไรก็ต้องเรียนรู้ คู่มือต้องอ่าน ไม่อ่านก็จะงง ทำอะไรไม่เป็น ย่ิงเป็นรุ่น X-T30 วิธีปรับค่าจะคล้ายๆกล้องฟิล์ม ไม่เหมือนดิจิทัลทั่วๆไป อาจจะงงๆในตอนแรก แต่ถ้าใช้เป็นจะรู้สึกว่าแบบนี้แหล่ะง่ายดี

ถ้าคุณรู้ตัวเองว่าไม่เก่งในการปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ แนะนำให้ไปเข้าคอร์สนะ ร้านกล้องหลายๆร้าน ถ้าไปซื้อกับเขา เขาจะมีกิจกรรมสอนถ่ายรูป (ก่อนซื้อแนะนำให้ถามก่อน ที่ร้านมีคอร์สสอนถ่ายรูปไหม)

ทางฟูจิก็มีจัดทริปถ่ายรูปเกือบจะทุกเดือน หรือไม่สะดวกก็ไปเรียนถ่ายรูปที่ไหนสักแห่ง

โหมด Auto

เป็นโหมดปรับค่ากล้องให้อัตโนมัติ จากสิ่งที่เห็น ..ไม่ได้ตกแต่งสี ย้ำอีกที ไม่แต่งสี ปรับแค่ค่าพื้นฐาน

ตัวอย่างเช่น

  • ถ่ายรูปวิว กล้องจะปรับระยะชัดลึก ให้เห็นรายละเอียดที่อยู่ไกลๆ
  • ถ่ายรูปคนกำลังวิ่ง กล้องจะจับโกัสติดตาม และปรับสตปีดชัตเตอร์เพื่อให้ถ่ายรูปทัน
  • ถ่ายรูปกลางคืน กล้องจะปรับรูปรับแสงให้ต่ำ ดัน ISO ขึ้น ให้ถ่ายได้นิ่งๆ

แต่ถ้าคิดว่ากล้องมันปรับค่าได้ไม่ตรงใจ เราเลือกโหมดเองได้นะ

โหมด ADV

เป็นการถ่ายภาพใส่เอฟเฟค ความเจ๋งของโหมดนี้คือ ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพแบบ Auto หรือโหมดแมนนวล P, A, S และ M ก็ใส่เอฟเฟคภาพผสมลงไปได้

แต่เอาจริงๆ ส่วนตัวแทบจะไม่ใช้โหมดนี้เลยนะ มันเหมือนของเล่นน่ะ ผมไม่ได้ชอบถ่ายแนวๆนี้

และมีบางอย่างที่ไม่เหมือน X-A5 นะ เผื่อใครจะอัพรุ่นมาเล่นตัวนี้ X-T30 มันไม่มีเอฟเฟคแสงไฟแฉก

ตัวอย่างเอฟเฟค

ตัวอย่างภาพถ่ายโหมด ADJ กล้อง fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm
ตัวอย่างภาพถ่ายโหมด ADJ กล้อง fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm
ตัวอย่างภาพถ่ายโหมด ADJ กล้อง fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm
ตัวอย่างภาพถ่ายโหมด ADJ กล้อง fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm
ตัวอย่างภาพถ่ายโหมด ADJ กล้อง fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm
ตัวอย่างภาพถ่ายโหมด ADJ กล้อง fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm

โหมดภาพซ้อน

เป็นการถ่ายภาพ 2 ครั้ง แล้วนำซ้อนกัน วิธีถ่ายง่ายนิดเดียว

แต่จะถ่ายให้สวยก็อีกเรื่องหนึ่ง ส่วนตัวไม่ถนัดแนวนี้เท่าไหร่ ดูภาพสิถ่ายอะไรมาก็ไม่รู้

รีวิวโหมดซ้อนภาพ Fujifilm X-T30
Fujifilm X-T30 เลนส์คิท 15-45mm

โหมดแมนนวล P A S M

กล้องถ่ายรูปมิเรอเลส / DSLR ทุกตัวจะต้องมีโหมดพวกนี้ เป็นการควบคุมกล้องแบบพื้นฐาน

กล้องตัวอื่นๆใช้วิธีหมุนแป้นไป แค่ครั้งเดียวก็เข้าโหมเถ่ายรูปนั้นๆได้แล้ว แต่สำหรับ Fuji X-T30 จะต้องปรับสปีดชัตเตอร์ที่แป้นและรูรับแสงที่เลนส์

แต่เลนส์บางตัวไม่มีค่ารูรับแสงที่เลนส์ ก็ปรับจากปุ่มไดอัลด้านหลัง

  • โหมด P ปรับรูรับแสงและสปีดชัตเตอร์เป็นอัตโนมัติ
  • โหมด A ปรับรูแสงเอง ปรับสปีดชัตเตอร์เป็นอัตโนมัติ
  • โหมด S ปรับสปีดชัตเตอร์เอง ส่วนรูรับแสงเป็นอัตโนมัติ
  • โหมด M ปรับรูรับแสงและสปีดชัตเตอร์ด้วยตัวเอง

ส่วนตัวใช้บ่อยสุดคือโหมด A เวลาถ่ายรูปคนผมจะปรับแค่รูรับแสงอย่างเดียว นอกนั้นก็ปล่อยเป็นอัตโนมัติ แต่ถ้าเป็นภาพทั่วๆไป วิว อาหาร ดอกไม้ ฯลฯ จะเลือกใช้โหมด P

ส่วนโหมด M นานๆทีจะได้ใช้ ส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายกลางคืนถึงจะใช้โหมด M

ที่ผ่านมาผมก็ใช้กล้องแบบนี้แหล่ะครับ โหมด A กับ P ง่ายๆ

โทนฟิล์ม

สิ่งที่เป็นจุดขายของกล้องฟูจิ ก็คือ “โทนฟิล์ม” กล้องแต่ละรุ่นจะมีมาให้ไม่เท่ากัน ก็แล้วแต่ว่าเป็นกล้องรุ่นใหม่หรือเก่า

อย่าง Fuji X-T30 มีมาให้ทั้งหมด 10 โทนสี เลือกตามแบบที่ชอบได้เลย ส่วนตัวชอบแบบ Provia ธรรมดาๆนี่แหล่ะ

สีที่มีชื่อเสียงก็ Classic Chrome กับสีใหม่ Eterna ที่ให้ภาพแนวๆมูฟวี่

ลืมบอก !! ต้องถ่ายรูปโหมด P A S M ถึงจะใช้โทนฟิล์มได้

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Provia สีปกติ

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Velvia สีสดใส

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Astia นุ่มนวล

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Classic Chrome สีอ่อน

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Pro Neg. Hi เหมาะกับพอร์ทเทรตเพิ่มคอนทราสต์

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Pro Neg. Std เหมาะกับพอร์ทเทรตไล่โทนนุ่มนวล

Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 + 35mm f1.4

Eterna ภาพยนตร์

ความสนุกของการถ่ายรูปโทนฟิล์มกล้องฟูจิ ไม่ได้แค่มีสีต่างๆให้เลือก ยังปรับแต่งพวกโทนสว่าง โทนมืด ค่าสี ความคมชัด ลดจุดลบกวน ฯลฯ

review-fujifilm-xt30-10

นอกจากนี้ยังทำ Custom ได้อีก 7 แบบ ทำให้ไม่ต้องตั้งค่าใหม่ทุกครั้ง

ก็คล้ายๆกับสูตรแต่งรูป เห็นว่าโทนแบบนี้สวยดี ก็เซฟค่านี้ไว้ได้

โหมดอื่นๆ

  • พาโนรามา ถ่ายภาพแนวยาว
  • BKT ถ่ายคร่อมแสง

การถ่ายภาพ

โฟกัสเร็ว

ตั้งแต่ใช้งานมา ยังไม่รู้สึกว่าเลนส์มันช้า ตัวที่ช้าๆอย่าง 35mm f1.4 ยังโฟกัสได้เร็ว ข้อนี้ส่วนตัวรู้สึกประทับใจมาก

ผมไม่ใช่คนถ่ายกีฬา ส่วนใหญ่ถ่ายพอร์เทรต และอีก 1% เป็นการถ่ายภาพแนวอื่นๆทั่วๆไป

แต่การถ่ายพอร์ทเทรต แม้ว่าไม่ต้องการความเร็วมาก แต่ก็จะมีจังหว่ะเสี้ยววินาทีที่สำคัญๆ และไม่ใช่ว่าจะสั่งให้นางแบบทำให้เกิดโมเม้นท์แบบนั้นได้อีก

ตอนที่ใช้ X-T20 ติดกับเลนส์ 35mm f1.4 และ 23mm f1.4 ผมพลาดชอตดีๆไปเยอะเลย

คือ X-T20 มันเป็นกล้องที่ทำงานเร็วในระดับหนึ่งนะ ถ้าเทียบกับ X-A5 มันเร็วกว่ามากๆ แต่ข้อเสียคือใช้กับเลนส์เก่าๆแล้วประสิทธิภาพการโฟกัสมันดรอปลง

แต่พอเป็น X-T30 ไม่ใช่แค่เครื่องที่ใหม่ แต่เหมือนจะได้เลนส์ใหม่มาด้วย

Eye AF สุดล้ำ

การจับโฟกัสดวงตา ดีกว่าที่คิดไว้มากๆ ช่วยให้งานพอร์เทรตสบายขึ้น

จับโฟกัสดวงตาโดยถ่ายคนเต็มตัวได้ ผมลองให้นางแบบเดินถอยห่างไปราวๆ 10 เมตร มันยังจับโฟกัสที่ดวงตาได้

แต่ถ้าเริ่มถ่ายในระยะห่างกัน 10 เมตร มันจะโฟกัสดวงตาไม่ได้ ต้องให้เดินเข้ามาไกล้กว่านี้อีก แต่พอจับโฟกัสดวงตาได้ ให้เดินถอยห่างออกไป 10 เมตร มันยังจับโฟกัสดวงตาได้อยู่

เอาเป็นว่าถ้ากล้องมันมองเห็นว่าเรากำลังถ่ายรูปคน มันจะจับโฟกัสที่ตาให้ทันที

ปล. การทดสอบนี้ใช้เลนส์ระยะ 35mm ใช้เลนส์ระยะอื่น ผลลัพธ์อาจจะแตกต่าง

ระว่างถ่ายมีปัญหาเล็กน้อย

เจออยู่ 3-4 ครั้ง ที่ถ่ายรูปไปสักพัก กล้องไม่โฟกัสดวงตา ต้องไปเปิดใหม่ถึงจะเริ่มโฟกัส

ซึ่งผมมั่นใจว่าไม่เคยไปปิด Eye Af เลย

ปัญหาแบบนี้ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร ผมทดลองเปลี่ยนแบตเปลี่ยนเลนส์ มันก็ไม่ได้ส่งผลอะไรนะ

ย้อนแสง หน้าสว่าง

จะบอกว่าเป็นฟีเจอร์เด็ดของ X-T30 ก็ว่าได้ ถ้ากล้องจับโฟกัสดวงตาได้ มันจะทำภาพถ่ายย้อนแสงหน้าสว่างให้เลย

ฟีเจอร์นี้ขอบอกว่าไม่ใช่ทุกกล้องที่ทำได้ กล้องฟูลเฟรมก็ทำแบบนี้ไม่ได้ ต้องหามุม ต้องเลือกจุดโฟกัสให้ดีหน้าถึงจะสว่าง

ข้อดี แค่จับโฟกัสดวงตาได้ หน้าสว่างทันที ไม่ต้องหามุม

ข้อเสีย แสงที่ได้ ไม่ค่อยสวย

แสงที่ได้เป็นสีขาวสว่าง ไม่ใช่แสงสีส้ม ผมพยายามถ่ายอยู่ยังไม่ได้สักที ภาพที่ได้จะคล้ายๆกับเทคนิค ถ่ายย้อนแสงหน้าสว่างด้วยการ “ชดเชยแสง”

ส่วนตัวไม่ค่อยชอบภาพแบบนี้ ถ้าอยากได้ภาพถ่ายย้อนแสงที่เป็นสีส้มสวยๆ อาจจะต้องปิด Eye AF มั้ง แล้วใช้วิธีโฟกัสแบบธรรมดา (แต่วิธีนี้ผมยังไม่ลองกับ X-T30 นะ)

แต่ก็มีบ้างที่ได้แสงสีสวยๆ แต่ได้น้อย ถ้าเทียบกับการใช้งานกล้องตัวอื่นๆรวมทั้ง X-T20

พอร์ทเทรตย้อนแสง Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่ายพอร์ทเทรต Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
พอร์ทเทรตย้อนแสง Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24mm f4
ภาพถ่ายพอร์ทเทรต Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24mm f4

ไฟล์ JPG

ฟูจิเป็นกล้องที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีไฟล์ JPG ที่สวยงาม ตรงกันข้ามกับ RAW ของกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์แบบ X-Trans CMOS ถ้าเอาไปแต่งใน Lightroom จะได้ไฟล์ที่ไม่ค่อยดีนัก

แต่สำหรับ X-T30 ที่ใช้ X-Trans รุ่นใหม่ สัมผัสได้ว่าไฟล์ RAW ทำออกมาได้ดีขึ้น

แต่ไม่ขอฟันธงว่ามันดีพอสำหรับใช้งานจริงจังแล้วยัง ส่วนตัวคิดว่าจะต้องใช้กล้องไปก่อนเรื่อยๆอีกหลายงาน ถึงจะบอกได้ว่าไฟล์ RAW มันดี หรือแย่เหมือนเดิม

fujifilm-xt30-capture-one-express

ตอนนี้มีอีกทางเลือก ใช้โปรแกรม Capture One Express โหลดฟรี แต่งไฟล์ RAW ของฟูจิได้ฟรีๆ รวมทั้ง X-T30 ด้วย เท่าที่ลองแบบคร่าวๆ ทำไฟล์ RAW ได้ดีกว่าที่คิดไว้มาก ..ทำได้ดีกว่า Lightroom

แต่ส่วนตัวจะยังใช้ Lightroom แต่งรูปเป็นหลัก มันสะดวกกว่า แต่งรูปบนมือถือได้ ทำให้อยู่ที่ไหนก็แต่งรูปได้

กลับมาที่ไฟล์ JPG

ถ้าตั้งค่ากล้องดีๆ ก็ถ่ายแบบจบหลังกล้องได้อยู่นะ รายละเอียดมันเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น โทนฟิล์ม ไดนามิก เอฟเฟคโครมสี สมดุลสี โทนสว่าง โทนมืด ฯลฯ

ชอบภาพสไตล์ไหนก็ทดลองปรับแต่งดู

แต่ผมชอบแบบเดิมๆ ไม่ได้ปรับแต่งอะไร เพราะเป็นคนชอบแต่งรูป ถ่ายเสร็จแล้วก็เอาไปแต่งในแอพ Lightroom ไม่ก็ VSCO

ความยืดหยุดของไฟล์ JPG มันก็ดีอยู่ในระดับหนึ่ง ที่ผมชอบถ่าย JPG แล้วเอารูปไปแต่ง เพราะจะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการปรับโทนผิว

พอไฟล์มันดีตั้งแต่แรก ก็ลดขั้นตอนการทำงานได้มากเลย

ภาพถ่ายพอร์ทเทรต Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่ายพอร์ทเทรต Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่ายพอร์ทเทรต Fujifilm X-T30 เลนส์ 35mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 35mm f1.4

ส่วนที่เป็นสาระสำคัญจริงๆคือ “โทนผิว”

ภาพถ่ายคนที่ได้จากกล้องฟูจิ ไม่ใช่แค่ X-T30 นะ ได้รับเสียงชื่นชมมาตลอด คือมันก็ดีจริง ไม่ใช่กล้องอื่นจะทำแบบนี้ได้ ไม่ใช่เลย

ผิวแบบฟูจิคือภาพจะดูใสๆ ไม่ติดเหลืองจนเกินไป

โดยรสนิยม ก็มี Fuji กับ Canon นี่แหล่ะที่ผมชอบ ภาพมันดูใส เวลาแต่งรูปจะง่าย เสร็จงานเร็ว

แต่ชอบไฟล์ JPG มากกว่านะ เวลาแต่งรูปแค่ดึงค่านิดๆหน่อยๆก็สวยละ ที่ช่วงหลังๆผมไม่ถ่าย RAW เพราะต้องปรับเยอะ กว่าคนจะออกมาสวยแบบใจต้องการ ใช้เวลานาน และไฟล์มีขนาดใหญ่

ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 56mm f1.2
Fujifilm X-T30 เลนส์ 56mm f1.2
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 56mm f1.2
Fujifilm X-T30 เลนส์ 56mm f1.2
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24mm f4
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24mm f4
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
ภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 23mm f1.4

อีกปัจจัยของภาพที่ได้ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับเลนส์ด้วยนะ เช่น ถ้าใช้ 56mm f1.2 โทนผิวจะดูนวลๆ เพราะมันเป็นเลนส์ที่ทำมาเพื่องานพอร์ทเทรต

ต่างกันกับเลนส์ 35mm f1.4 คอนทราสต์จะสูงกว่า ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเลนส์ค่ายเดียวกัน แต่เลนส์แต่ละตัวมีคุณสมบัติต่างกัน ภาพที่ได้จะแตกต่างกันไป

การถ่ายรูปในที่แสงน้อย

ถือว่าอยู่ในมาตรฐานที่ดี จัดการ Nosie ได้ดี ถ่ายกลางคืนผมไว้ใจมันได้ระดับหนึ่ง

และเห็นว่า X-T30 มี Flicker Reduction ด้วย ในเมนูภาษาไทยใช้คำว่า “ลดการสั่นไหว” (ไม่ใช่อันเดียวกันกับ IS Mode นะ)

ภาพถ่ายพิพิธภัณฑ์ Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24 F4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24 F4
ภาพถ่ายสตรีท Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24 F4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 10-24 F4

ในส่วนของพอร์ทเทรต ถ้าไม่มืดมากจนเกินไป Eye AF ยังทำงานได้ดี

รีวิวภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 35mm F1.4
Fujifilm X-T30 เลนส์ 35mm F1.4
รีวิวภาพถ่าย Fujifilm X-T30 เลนส์ 56mm f1.2
Fujifilm X-T30 เลนส์ 56mm f1.2

แบตพอใช้ได้

ถ้าถ่ายแบบต่อเนื่อง แบต 1 ก้อน อยู่ได้ครึ่งวัน แต่ถ้าถ่ายเล่นๆชิวๆ อยู่ได้แบบเต็มวัน

แต่เพื่อความสบายใจ แนะนำให้ซื้อมาเพิ่มอีกก้อน เพราะพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ส่วนตัวไม่ค่อยใช้ EVF ชอบมองจอ LCD มากกว่า ก็ประหยัดแบตได้มากกว่า มีแบตแค่ 2 ก้อนผมก็อยู่ได้

แต่ X-T30 ไม่ได้แถมเครื่องชาร์จ ในกล่องมีแต่สาย USB-C กับหัวชาร์จ มาแค่นั้น

การส่งรูปเข้ามือถือ

มีแอพสำหรับเชื่อมต่อเข้ามือถือ แต่ใช้งานจริงๆ ผมใช้อะแดปเตอร์ SD Card มันสะดวกกว่า

ที่ผ่านมาจะมีปัญหากับแอพตลอด แต่สำหรับ X-T30 พอมีบลูธูทเข้ามา ช่วยให้ส่งรูปได้ง่ายขึ้นอีกระดับหนึ่ง

การอัพเดทเฟิร์มแวร์กล้อง

มีอยู่วิธีเดียวคืออัพเดทผ่าน SD Card ส่วนตัวไม่สะดวกวิธีนี้เท่าไหร่ คอมไม่มีช่องเสียบ SD card แล้วหลายคนไม่มีคอมก็จะลำบากหน่อย

ในแอพมือถือมีเมนูอัพเดทเฟิร์มแวร์ แต่ไม่รู้ใช้งานยังไง กดเข้าไปมีแต่บอกว่ากล้องของคุณอัพเดทล่าสุดแล้ว ทั้งๆที่มีเฟิร์มแวร์ตัวใหม่ออกมา และกล้องผมยังไม่ได้รับการอัพเดท

เป็นไปได้อยากให้มีโปรแกมคอม ต่อสาย USB แล้วอัพเดทง่ายๆ

ออกกล้อง X-T30 พร้อมเลนส์คิทดีมั้ย

ถ้าจัด X-T30 พร้อมกับ Kit 15-45mm ก็ถือว่าได้กล้องพร้อมเลนส์ในราคาที่ถูกที่สุดแล้ว

แม้ว่าจะเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพแบบธรรมดาๆ แต่พอเพียงสำหรับฝึกถ่ายรูปหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สัตว์เลี้ยง อาหาร บ้าน คน วิว ธรรมชาติ ฯลฯ

ขอบอกก่อนว่า เลนส์ตัวนี้เหมาะกับการฝึกถ่ายรูป หรือถ่ายเล่นๆขำๆ มากกว่าที่จะนำไปใช้งานจริงจัง

อย่างจะเอาไปถ่ายรูปคน มันก็ทำได้ แต่แค่พอทำได้ คุณภาพก็อย่างที่เห็น

ตัวอย่างพอร์ทเทรตจากเลนส์คิท

แต่งรูปด้วย Lightroom

ภาพถ่ายพอร์ทเทรท Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm
Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm แต่งสี Lightroom
ภาพถ่ายพอร์ทเทรท Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm
Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm แต่งสี Lightroom
ภาพถ่ายพอร์ทเทรท Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm
Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm แต่งสี Lightroom
ภาพถ่ายพอร์ทเทรท Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm
Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm แต่งสี Lightroom
ภาพถ่ายพอร์ทเทรท Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm
Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm แต่งสี Lightroom
ภาพถ่ายพอร์ทเทรท Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm
Fujifilm X-T30 เลนส์ 15-45mm แต่งสี Lightroom

เลนส์คิท 15-45mm ถ่ายรูปคนละลายหลังได้น้อย อาศัยว่าฉากหลังอยู่ห่างจากตัวแบบ ภาพถ่ายเลยดูเหมือนว่าละลายหลัง

อยากได้สวยๆ ก็ใช้แอพแต่งรูปช่วย ถ้าใช้แอพ Lightroom จะทำให้สนุกกับการถ่ายภาพมากขึ้น แม้ว่าจะใช้เลนส์คิท แต่ภาพที่ได้มันต่อยอดไปได้อีก

เลนส์ฟูจิ

เลนส์กล้องฟูจิมีให้เลือกครบทุกระยะการใช้งาน ไม่ต้องกังวลว่าจะมีเลนส์ให้เลือกน้อย

ราคาเลนส์ ถ้าเทียบกับเลนส์เกรดโปรด้วยกัน กับเลนส์ต่างค่าย เลนส์ฟูจิถือว่าถูกแล้วนะ

แต่มีเลนส์ฝึกถ่ายน้อย มีแต่คิท 15-45mm กับเลนส์ซูม 50-230mm มีขายมือสองกันถูกๆ

นอกนั้นเป็นเลนส์ XF ซึ่งถือเป็นเลนส์เกรดโปรของฟูจิ ราคาเริ่มต้นที่ 6,990 บาท ไปจนถึงหลายหมื่นบาท

ส่วนตัวก็ไม่ได้มีทุกเลนส์นะ ผมเลือกซื้อเฉพาะในส่วนที่จะใช้งาน

เลนส์ที่ชอบใช้ติดกล้องก็คือ 10-24mm f4 ให้ภาพมุมกว้าง มีกันสั่น รู้สึกถ่ายสนุก มันเหมือนได้เห็นมุมมองแปลกๆจากเลนส์ตัวนี้

review-fujifilm-xt30-40

อีกตัวเป็น 23mm f1.4 เป็นเลนส์ที่สาวๆชอบ หน้าไม่บาน ถ่ายคนได้วิว และใช้ถ่ายแนวทั่วๆไปได้

review-fujifilm-xt30-41

ถ้ายังใช้ X-T20 อยู่ คิดว่าไง ?

ถ้าไม่ได้รับงาน ผมคิดว่าไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะเปลี่ยนมาใช้ X-T30 กล้องมันยังดีอยู่ ยังใช้งานได้อีกยาวๆเลยนะ

แต่ถ้าคุณรับงานถ่ายรูป “มันจำเป็นอย่างมาก” ที่ควรจะเปลี่ยนกล้องมาเป็น X-T30 เพราะฟีเจอร์ Eye AF มันดีมากๆ ใช้กับเลนส์รุ่นเก่าก็ทำงานเร็วขึ้น

การที่กล้องมี Eye AF แบบตามจิก และใช้เลนส์เก่าๆอย่าง 35mm f1.4 ได้แบบไม่วืดวาด ชีวิตแฮปปี้ขึ้นเยอะ เพราะงานจะผิดพลาดน้อยลง

ไปต่อฟูลเฟรมไม่ได้

กล้อง APS-C ของค่ายอื่นๆ พอผู้ใช้อัพไปเล่นฟูลเฟรมของค่าย เขาจะเอาเลนส์และอุปกรณ์เสริมบางอย่างไปใช้ได้ทันที

ฟูจิไม่มีฟูลเฟรม ถ้าจะอัพไปเล่นฟูลเฟรมนี่ต้องย้ายค่ายอย่างเดียว ไม่ก็ซื้อเพิ่ม

รุ่นที่สูงกว่าของฟูจิคือ Medium Format สำหรับผมมองว่าระบบมันใหญ่เกินไป ราคาก็แพง มันแพงเกินกว่าที่ผู้ใช้ทั่วไปจะนำมาถ่ายรูปเล่น

ส่วนตัวตอนนี้ใช้กล้องฟูจิคู่กับ Canon EOS R (กล้องฟูลเฟรม) ถ่ายรูปสบายๆจะหยิบฟูจิไปใช้งาน แต่ถ้าจริงจังขึ้นมาหน่อยเลือก EOS R กล้องฟูลเฟรมให้ความมั่นใจผมมากกว่า

เทียบกับฟูลเฟรม

ที่กล้อง X-T30 เป็นรองฟูลเฟรมแบบชัดเจน คือขนาดของเซ็นเซอร์ ส่งผลต่อการรับแสงและทำละลายหลังได้ดีกว่า

นอกนั้นต้องเทียบเป็นประเด็นๆไป กล้องไม่ได้เป็นรองทุกอย่าง

อย่าง Eye AF ทำออกมาดีมาก และประสิทธิภาพเพียงพอที่จะถ่ายงานกีฬาได้ ไม่ใช่ฟูลเฟรมจะทำได้ดีแบบนี้ทุกตัวนะ

ฉะนั้นถ้าถามว่าจะเอาอะไรดี ระหว่าง X-T30 กับกล้องฟูลเฟรมราคากำลังดีอย่าง Sony A7ii, EOS 6D และรุ่นใหม่อย่าง EOS RP

มันพูดยากน่ะ มันมีหลายประเด็น

แต่ถ้ามีงบจำกัด X-T30 นี่คือดีแล้ว กล้อง APS-C ตัวอื่นก็ได้ เพราะเลนส์เกรดโปรไม่แพง จะไปเล่นฟูลเฟรมทั้งที แต่ใช้เลนส์เกรดล่างๆ ภาพก็ไม่ได้ดีกว่าฟูจิหรอกนะ

สรุปการใช้งาน

  • เป็นกล้องที่ใช้งานได้ทั้งถ่ายรูปเล่น และใช้งานแบบจริงจัง
  • สายพอร์ทเทรตจะต้องชอบ มีทั้งโทนผิวที่ดี และ Eye AF ที่ดี
  • จำเป็นต้องซื้อที่ชาร์จมาเพิ่มนะ จะทำให้ชาร์จแบตพร้อมกันได้ 2 ก้อน ออกต่างจังหวัดจะได้มีความมั่นใจ ชาร์จแบตได้ทันสำหรับวันเที่ยวถัดไป
  • ไม่เจอแฟร์ม่วง ปกติตอนใช้ X-T20 ก็เจอน้อยมากๆ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็น น่าจะอยู่ที่ 0.5%
  • ถ่ายย้อนแสงหน้าสว่างง่ายขึ้น แต่แสงไม่ค่อยสวยน่ะ
  • ใช้งานกับเลนส์รุ่นเก่าๆได้เร็วขึ้น

ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ได้พูดถึง เพราะไม่ได้ใช้งานจริง

บทความก่อนหน้านี้Fuji X-T30 วิธีถ่ายรูปโหมด A ด้วยเลนส์คิท 15-45mm
บทความถัดไปวิธีแต่งรูปโทนท่องเที่ยว สูตรสีสด Lightroom
ชอบถ่ายรูป ชอบแต่งรูป รักการเขียนบล็อก